#echo banner="" ปัจฉิมกถา หลวงพ่อชา

ปัจฉิมกถา

ตัดตอนจาก การบรรยายที่ประเทศอังกฤษ

ให้แก่นักศึกษาธรรมชาวตะวันตก เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐

พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

คัดลอกจาก “ธรรมะ หลวงพ่อชา”

จัดทำโดย คุณเจริญชัย เจริญทั้งเมือง

ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙

http://www.geocities.com/uu2uu/achar/cha29.html

... จบที่ตรงไหนรู้ไหม? หรือท่านจะเรียนอย่างนี้เรื่อยไปงั้นรึ? หรือท่านเรียนมีที่จบ? อันนั้นก็ดี แต่มันเป็นปริยัติข้างนอก ไม่ใช่ปริยัติข้างใน ปริยัติ ข้างในจะต้องเรียนตาของเรานี่ หูนี่ จมูกนี่ ลิ้นนี่ จิตนี่ อันนี้เป็นปริยัติ ที่แท้ อันนั้นเป็นปริยัติเป็นตัวหนังสือ อยู่ข้างนอกเรียนจบได้ยาก ตาเห็นรูปมีอาการเกิดขึ้นอย่างไร หูฟังเสียงมีอาการเกิดขึ้น อย่างไร จมูกดมกลิ่นมีอาการเกิดอย่างไร ลิ้นลิ้มรสมีอาการเกิดขึ้น อย่างไร โผฏฐัพพะกับกายกระทบกันนั้นมีอาการเกิดขึ้นอย่างไร อารมณ์ที่รู้ทางใจนั้นมันเกิดขึ้นแล้วเป็นอย่างไร ยังมีโลภไหม ยังมี โกรธอยู่ไหม ยังมีหลงอยู่นั่นไหม หลงกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ที่เกิดขึ้นนั่นไหม อันนี้เป็นปริยัติข้างใน เรียน จบง่ายๆ เรียนจบได้

ปริยัติข้างนอกเรียนจบไม่ได้หรอก มันหลายตู้ ถ้าเราเรียน ปริยัติแต่ไม่ได้ปฏิบัติก็ไม่ได้รับผล เหมือนกับคนเลี้ยงโค ตอนเช้าก็ ต้อนโคออกไปกินหญ้า ตอนเย็นก็ต้อนโคมาเข้าคอกเท่านั้น แต่ไม่เคย ได้กินน้ำนมโค ดีแต่ว่าได้ต้อนออกไปจากคอกตอนเช้า แล้วก็ต้อนโค เข้ามาเท่านั้น ไม่เคยได้กินน้ำนมโคเลย แต่นั่นเรียนก็ดีหรอก แต่อย่า ให้เป็นอย่างนั้น ให้ได้เลี้ยงโคด้วย กินน้ำนมโคด้วย นี่ก็ต้องเรียนให้รู้ ด้วย ปฏิบัติด้วย จึงจะถูกต้องดี

นี่พูดให้ถูกเรื่องก็ว่า เหมือนคนเลี้ยงไก่ ไม่ได้กินไข่ไก่ ได้แต่ขี้ ไก่ อันนี้พูดให้คนเลี้ยงไก่โน่นหรอก ไม่ได้พูดให้โยม พูดให้คนเลี้ยงไก่ ระวังอย่าให้เป็นอย่างนั้น ก็เหมือนกับว่าเราเรียนปริยัติได้ แต่ไม่รู้จัก ละกิเลส ไม่รู้จักละความโลภ ความโกรธ ความหลง ออกจากใจของ เรา ได้แต่เรียน ไม่ได้ปฏิบัติ ไม่ได้ละ มันก็ไม่เกิดประโยชน์ จึงเปรียบ ว่าคนเลี้ยงไก่ไม่ได้กินไข่ไก่ ได้แต่ขี้ไก่ เหมือนกันอย่างนั้น เพราะ ฉะนั้นพระพุทธเจ้าของเราท่านจึงต้องการให้เรียนปริยัติเพียงพอรู้ ที่ สำคัญคือเรียนแล้วก็ให้ปฏิบัติ ปฏิบัติละความชั่วออกจากกาย วาจา ใจ ของเรา แล้วประพฤติคุณงามความดีไว้ที่กาย วาจา ใจ ของเรา เท่านั้น คุณสมบัติของมนุษย์ที่จะบริบูรณ์นั้น ก็คือสมบูรณ์ด้วยกาย วาจา และใจ

กาย วาจา ใจ จะสมบูรณ์นั้น เช่นว่าพูดดีเฉยๆ ก็ไม่สมบูรณ์ ถ้าใจไม่กระทำตาม (หมายเหตุ 1) ทำดีแต่กายเฉยๆ ใจไม่ดีนั้น ก็ไม่ สมบูรณ์ พระพุทธองค์ทรงสอนให้ดี ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ กาย งาม วาจางาม ใจงาม เป็นสมบัติของมนุษย์ที่ดีที่สุด นี่ก็เหมือนกัน ฉันนั้น เรียนก็ต้องดี ปฏิบัติก็ต้องดี ละกิเลสก็ต้องดี สมบูรณ์อย่างนั้น ที่พระพุทธเจ้าหมายถึงมรรค คือหนทางที่เราจะปฏิบัตินั้น มี แปดประการ มรรคทั้งแปดนั้นไม่ใช่อยู่ที่อื่น อยู่ที่กายของเรานี้ ตา สอง หูสอง จมูกสอง ลิ้นหนึ่ง กายหนึ่ง นี่เป็นมรรค แล้วจิตเป็นผู้เดิน มรรค เป็นผู้ทำมรรคให้เกิดขึ้น

ฉะนั้น ทั้งปริยัตินี้ ทั้งปฏิบัตินี้ จึงอยู่ที่กาย วาจา ใจ ปฏิบัติ อยู่ที่ตรงนี้ ที่เราได้เรียนปริยัตินั้นเคยเห็นไหม เคยเห็นปริยัติที่สอนอยู่ นอกกายไหม เคยเห็นปริยัติที่สอนอยู่นอกวาจาไหม (หมายเหตุ 2) เคยเห็นปริยัติที่สอนอยู่นอกใจไหม ก็มีแต่ที่สอนอยู่ที่กาย วาจา ใจ นี้ ทั้งนั้น ไม่ได้สอนอยู่ที่อื่น ฉะนั้นกิเลสมันก็เกิดขึ้นตรงนี้ ถ้ารู้มัน มันก็ ดับตรงนี้ ฉะนั้น ให้เข้าใจว่าปริยัติ ปฏิบัติ นั่นอยู่ตรงนี้

ถ้าเราเรียนสั้นๆ นี่ มันก็ได้หมด เหมือนกับคำพูดของคนเรา ถ้าพูดเป็นสัจจธรรมถูกต้องด้วยดีแล้ว แม้คำพูดคำเดียวเท่านั้น ก็ดี กว่าพูดที่ไม่ถูกต้องตลอดชีวิตใช่ไหม คนที่เรียนปริยัติแล้วไม่ปฏิบัติ ก็ เหมือนทัพพีตักแกงที่อยู่ในหม้อ มันตักแกงทุกวัน แต่มันไม่รู้รสแกง ทัพพีไม่รู้รสของแกง ก็เหมือนคนเรียนปริยัติที่ไม่ได้ปฏิบัติ ถึงแม้จะ เรียนอยู่จนหมดอายุ ก็ไม่รู้จักรสของธรรมะ เหมือนทัพพีไม่รู้รสของ แกงฉันนั้น

หมายเหตุจากผู้จัดทำ (คุณเจริญชัย เจริญทั้งเมือง)

เรื่องนี้ผมใช้หนังสือ นอกเหตุเหนือผล ซึ่งจัดพิมพ์โดย สำนัก พิมพ์ ธรรมสภา มาเป็นต้นฉบับ พิมพ์เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ ผมได้ปรับปรุงตำแหน่งการเว้นวรรคและย่อหน้าให้เหมาะสม แต่ยังได้คงข้อความเดิมไว้ทั้งหมด ยกเว้นมีการแก้ไขข้อความที่คาด ว่าต้นฉบับเดิมจะพิมพ์ผิด โดยได้ใส่วงเล็บกำกับไว้ ณ จุดที่แก้ไขแล้ว ดังรายละเอียดดังต่อไปนี้

จุด 1 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “ถ้าไม่กระทำตาม” เพิ่ม คำว่า “ใจ” ลงไปด้วย กลายเป็น “ถ้าใจไม่กระทำตาม”

จุด 2 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “เคยเห็นมรรคที่สอนอยู่ นอกวาจาไหม” แก้เป็น “เคยเห็นปริยัติที่สอนอยู่นอกวาจาไหม”