#echo banner="" ประวัติหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์

หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์

พระพุทธรูปคู่บุญบารมีหลวงปู่สอ พันธุโล

รวบรวมและเรียบเรียงโดย

พระครูสิทธิวราคม (นิคม นิคมวโร)

เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน

ตำบลหนองบัว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

ประวัติของพระพุทธสิิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)

ก่อนอื่นผู้เขียนใคร่ขออภัยต่อท่านผู้อ่านไว้ก่อน เพราะในการเรียบเรียงประวัติของพระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) ในครั้งนี้อาจขาดตกบกพร่องไปบ้าง เนื่องจากไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีลักษณะแปลกประหลาดและน่าอัศจรรย์ ซึ่งบุคคลธรรมดาอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ยากที่จะมีโอกาสพบเห็นเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ได้ง่าย ๆ และไม่อาจตัดสินหรือปฏิเสธได้ว่าไม่จริง

เหตุการณ์นี้แม้จะเกิดขึ้นนานมาแล้ว และเป็นเรื่องที่ประทับอยู่ภายในจิตของพระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พันธุโล) อย่างแนบแน่นยากที่จะลืมเลือน และกลายเป็นเหตุการณ์ที่เล่าขานในหมู่นักปฏิบัติธรรมระดับพระมหาเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจำนวนมากจากอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งคำชมเชยและคำสั่งกำชับหลวงปู่สอ ให้รักษาพระพุทธรูปองค์นี้ให้ดี จากพระมหาเถระ เช่น หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่ขาวและหลวงปู่มหาบัว เป็นต้น ตลอดจนถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นต่าง ๆ ด้วยอานุภาพของพระพุทธรูปองค์นี้ย่อมเป็นเครื่องยืินยันและรับรองได้ว่า หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีความศักดิ์สิทธิ์และอานุภาพมาก รวมทั้งมีเทพชั้นสูงคอยอภิบาลรักษา ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ควรแก่ผู้มีบุญญาบารมีมีศีลธรรมและคุณธรรมโดยแท้

พระพุทธสิริสัตตราช

ดังนั้น ในการเรียบเรียงประวัติของพระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) จึงถือเอาคำบอกเล่าของพระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พันธุโล) และครูบาอาจารย์ที่เคยร่วมพรรษากับหลวงปู่สอ พันธุโล ตลอดถึงพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลายรูปที่เคยปรารภถึงเรื่องราวของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์และหลวงปู่สอ พันธุโลนี้ เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการเรียบเรียงความเป็นมาของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ดังต่อไปนี้

๑. นิมิตอัศจรรย์เกี่ยวกับหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์

๑.๑ นิมิตอัศจรรย์ในพรรษาที่ ๒

ในปี ๒๕๐๒ ซึ่งเป็นพรรษาที่ ๒ ของหลวงปู่สอ พันธุโลท่านจำพรรษาอยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัว ญูาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด ในตอนเย็นวันหนึ่งขณะที่หลวงปู่กำลังนั่งสมาธิอยู่ภายในกุฏิจิตใจสงบเยือกเย็นเป็นสมาธิระดับหนึ่ง ขณะนั้นได้บังเกิดนิมิตเห็นงูใหญ่ตัวสีทองเลื้อยเข้ามาภายในห้องที่นั่งสมาธิอยู่รู้สึกตามนิมิตที่ปรากฏให้เห็นราวกะมองเห็นด้วยตาเปล่า งูที่เลื้อยเข้ามานั้นตัวใหญ่มากเท่ากับต้นเสากลางบ้าน ยาวประมาณ ๖ - ๗ เมตร

ความรู้สึกของท่านในขณะเห็นงูใหญ่ นึกว่ามันจะเข้ามากินท่าน จึงพิจารณาดูสภาพจิตใจของตนเอง ก็พบว่าไม่มีความหวาดหวั่นต่อความตายแม้แต่น้อย แต่ถ้าหากงูมันกินจริง ๆ ก็ยอม ท่านเล่าว่าเมื่อตัดสินใจเด็ดเดี่ยวเช่นนั้นแล้ว จึงปลงจิตใจลงสู่เรื่องของกรรม คือถ้าเคยสร้างกรรมไม่ดีกับงูมาในอดีตชาติ ก็ขอให้งูทำร้ายหรือกินได้เลย แต่ถ้าไม่เคยมีกรรมมีเวรต่อกัน ก็ขอให้หนีไป อย่าทำร้ายให้ได้รับความเดือดร้อนใด ๆ เลย

หลวงปู่สอ เล่าว่า เมื่องูเลื้อยเข้ามาใกล้ตัวท่านแล้วผ่านไปด้านหลัง ไม่นานก็เข้ามาดันตัวของท่านลอยขึ้นในลักษณะขนดลำตัวให้ท่านนั่ง ขณะนั้นท่านก็มีสติสัมปชัญญะรับรู้อยู่ตลอด สังเกตดูว่างูนั้นจะทำอย่างไรต่อไป ไม่นานนักหลวงปู่ก็รู้สึกว่ามีอะไรเข้าไปอยู่ภายในตัวท่านและทะลุออกทางด้านหลัง ตรงบริเวณใกล้กับไหล่ทั้งสองข้าง หลวงปู่รู้สึกแปลกใจว่างูตัวใหญ่ขนาดนี้มันเข้าไปอยู่ในตัวท่านได้อย่างไร และที่มันทะลุออกไปด้านหลังนี้มันออกไปได้อย่างไร ในความรู้สึกของท่าน ขณะนั้นเกิดสงสัยว่ามันอยู่ในลักษณะอาการเช่นไร จึงได้ขยับมือด้านซ้ายออกจากท่านั่งสมาธิ ยกขึ้นไปสำรวจดูด้านบนบ่าไหล่ด้านซ้าย หลวงปู่สะดุ้งเล็กน้อย เมื่อมือของท่านไปกระทบกับหัวงูใหญ่เข้า ท่านจึงค่อย ๆ ลดมือลงวางไว้เช่นเดิม

หลวงปู่สอ ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังต่อไปว่า ท่านเกิดวิตกไปว่า ท่านจะกลายเป็นบุคคลประหลาด เพราะมีหัวงูทะลุออกไปด้านหลังและแผ่ปกคลุมอยู่ คล้ายกับพระนาคปรก พรุ่งนี้เช้าท่านจะกล้าไปบิณฑบาตได้หรือ เพราะมีสภาพไม่เหมือนกับพระภิกษุ สามเณรทั่วไป พอหลวงปู่ท่านคิดวิตกได้ไม่นาน งูนั้นก็เริ่มขยับออกจากภายในตัวท่าน และคลายขนดลำตัวที่ทำเป็นวงกลมให้หลวงปู่นั่งออก จนกระทั่งก้นหลวงปู่ลงกระทบกับพื้นกุฏิ เสร็จแล้วงูใหญ่ได้เลื้อยออกไปทางเดิม หลวงปู่ท่านก็ออกจากสมาธิ มือขวาจับไฟฉายที่อยู่ด้านข้างตัวฉายไฟตามงูนั้นไปก็ไม่เจอ จึงลุกขึ้นเดินออกไปนอกห้อง ส่องไฟหาอย่างไรก็ไม่เจอ ลงไปข้างล่าง เดินดูรอบบริเวณกุฏิก็ไม่เจองูใหญ่ตัวนั้นเลย ทำให้ท่านแปลกประหลาดใจมาก ว่ามันเป็นไปได้อย่างไร ขณะที่เหตุการณ์เกิดขึ้นก็เหมือนกับมองเห็นด้วยตาเปล่า มันชัดเจนแจ่มแจ้งจนไม่อาจจะปฏิเสธได้ แม้ในปัจจุบันนี้ เหตุการณ์ที่ว่านี้ก็ยังประทับแนบแน่นอยู่ในความทรงจำของท่านราวกะว่าเป็นเหตุการณ์ที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อวานนี้

หลวงปู่สอท่านได้เล่าเรื่องนี้ให้หลวงปู่บุญมีฟังอย่างละเอียดแต่ก็ไม่อาจสรุปหรือลงความเห็นใด ๆ ได้ว่า นิมิตที่ปรากฏอย่างชัดเจนนี้มีความหมายถึงอะไร และหลวงปู่ควรจะปฏิบัติตัวของท่านต่อไปอย่างไร หลวงปู่บุญมีได้กราบเรียนเรื่องนี้ให้หลวงปู่มหาบัวทราบในวันต่อมา หลวงปู่สอก็ถูกเรียกให้ไปพบหลวงปู่มหาบัว เพื่อเล่าถวายนิมิตที่เกิดขึ้นให้ท่านทราบอย่างละเอียด หลวงปู่มหาบัวหรือในอีกฐานะหนึ่งคือพ่อแม่ครูอาจารย์ของหลวงปู่สอได้เตือนหลวงปู่สอหลายอย่าง เพราะเกรงว่าหลวงปู่ท่านจะเชื่อตามนิมิตไปทั้งหมด จะทำให้เกิดติดในนิมิตและอาจหลงใหลไปตามนิมิต จนเกิดความวิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักภาวนาที่ถูกต้องได้ หลวงปู่มหาบัวยังได้สั่งกำชับว่า ต่อไปแม้ว่ามันจะปรากฏนิมิตอะไรขึ้นในขณะภาวนาก็อย่าไปสนใจ ให้พิจารณาลงสู่ไตรลักษณ์ทั้งหมด และก็ไม่ควรที่จะไปเที่ยวพูดให้คนนั้นคนนี้ฟัง มันจะกลายเป็นความเสียหายได้ หลวงปู่สอท่านก็รับฟังคำแนะนำสั่งสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์ของท่านด้วยความเคารพ

เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งว่า นิมิตที่ปรากฏขึ้นในขณะนั่งสมาธิภาวนาของหลวงปู่สอ มีความชัดเจนมาืก เหมือนกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ เพราะตัวก็ถูกงูดันลอยขึ้น ขาและก้นก็ได้นั่งทับงู มือก็ได้สัมผัสที่หัวงูด้วย ซึ่งแตกต่างจากนิมิตโดยทั่ว ๆ ไป เพราะนิมิตโดยทั่วไปนั้น ถ้าเป็นภาพแม้จะชัดเจน ก็ไม่อาจจะสัมผัสด้วยกายได้ เป็นเรื่องของจิตเห็น จิตรับรู้ และหายไปที่จิตนั่นเอง ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์อยู่มิใช่น้อยสำหรับเรา ๆ ท่าน ๆ หรือแม้แต่องค์หลวงปู่สอ ผู้ซึ่งประสบมากับตนเอง

๑.๒ สัญญาณบ่งบอกครั้งที่ ๒ ในพรรษาที่ ๖

ในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ซึ่งเป็นพรรษาที่ ๖ ของหลวงปู่สอ พันธุโล วันหนึ่งขณะที่ท่านเดินดูบริเวณรอบวัด ได้บังเกิดเสียงดังขึ้นภายในตัวท่านได้ยินชัดเจนว่า “สัญลักษณ์ของท่านอาจารย์นั้น จะตกทอดมาจากอากาศ ในพรรษาที่ ๘ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ บางทีคนเขาเก็บไว้ แล้วจะนำมาถวายภายหลัง”

หลวงปู่สอท่านแปลกใจว่าเสียงนี้มาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร จะพูดว่าเป็นเสียงจริงๆ ก็ได้ เพราะหูสามารถได้ยินเสียงได้ จะว่าเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นภายในจิต ก็อาจจะกล่าวได้ เพราะหลวงปู่ยืนยันว่ามันเกิดขึ้นภายในจิต รับรู้ได้อย่างชัดเจนภายในจิต เพราะฉะนั้น ความรู้ หรือนิมิตที่เกิดจากเสียงนี้ หลวงปู่มั่นใจว่า มันจะต้องเกิดขึ้นแน่ในอนาคต

หลวงปู่สอได้เล่าถวายให้หลวงปู่บุญมีทราบถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ถูกเรียกไปพบหลวงปู่มหาบัวอีกครั้ง หลวงปู่มหาบัวได้ดุท่านว่า “บอกกี่ครั้งแล้ว ว่าไม่ให้พูด บ้า่ บ้าสัญญา บ้าวิปลาส” ที่จริงแล้วการที่หลวงปู่มหาบัวดุท่าน ท่านก็ไม่ได้เสียใจหรือน้อยใจแต่ประการใด หลวงปู่เล่าว่า ในขณะถูกหลวงปู่มหาบัวดุว่าบ้านั้น ท่านเอานิ้วมือออกมานับดู ก็นับครบห้าครบสิบอยู่ ท่านจึงบอกกับตัวเองว่า "ย้งไม่เป็นบ้า" หลวงปู่มหาบัวยังสั่งท่านอีกว่า “ต่อไปอย่าพูดอีก ให้มันเกิดเสียก่อนค่อยพูด”

หลังจากนั้นมา หลวงปู่สอท่านก็ประกอบความเพียรของท่านอย่างสม่ำเสมอ แต่ยิ่งใกล้วันที่นิมิตจากเสียงบอกไว้ ก็ยิ่งทำให้จิตใจจดจ่อมากขึ้น ๑ ปีผ่านไป ย่างเข้าปีที่ ๒ คือ พ.ศ. ๒๕๐๘ ซึ่งเป็นปีที่ถูกกำหนดไว้ หลวงปู่เล่าว่า อยากจะให้ดวงอาทิตย์มันขึ้นลงเร็ว ๆ ที่จิตใจมันจดจ่อเช่นนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าจิตใจมีความวุ่นวาย กระสับกระส่ายแต่อย่างใด แต่อยากจะพิสูจน์ความจริงจากนิมิตที่เกิดขึ้นว่าจะเป็นจริงหรือจะหลอกลวง เพราะพ่อแม่ครูอาจารย์ท่านมักจะสั่งสอนลูกศิษย์เสมอว่า อย่าไปชอบใจติดใจหรือเชื่อมั่นในนิมิตที่ปรากฏจนเกินไป เพราะนิมิตเองก็เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอนมั่นคง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปได้เสมอ ถ้าเข้าไปเชื่อมั่นหลงใหลไปตามนิมิต อาจทำให้เสียหลักในการภาวนา หรือเกิดวิปลาสไปได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงตักเตือนหรือดุด่าว่ากล่าวบ้างเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

๒. นิมิตกลายเป็นความจริงในพรรษาที่ ๘

เมื่อเข้าสู่ปีพรรษาที่ ๘ วันแห่งการรอคอยยิ่งใกล้เข้ามาทุกขณะ ปีนี้มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษากับหลวงปู่สอ พันธุโล ประมาณ ๓-๔ รูป วันเข้าพรรษาผ่านไป พระภิกษุสามเณรทกรูปต่างก็พยายามฝึกฝนอบรมตนเองทั้งในต้านกิจวัตรข้อวัตร และการภาวนา เพราะในช่วงเวลาที่เข้าพรรษานี้ ตามวัดป่าสายกัมมัฏฐาน ท่านมักจะถือโอกาสทำความเพียรเป็นกรณีพิเศษ เช่น อดนอน ผ่อนอาหาร หรืออดอาหารเพื่อประกอบความเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ตลอดพรรษาเพื่อเป็นการชำระซักฟอกจิตใจให้มีความขาวสะอาด ซึ่งเป็นหน้าที่อันสำคัญยิ่งของนักบวชในพระพุทธศาสนา วันเข้าพรรษาที่ ๘ ผ่านไปได้ประมาณ ๒๕ วันก็ถึงวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ซึ่งตรงกับประมาณวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๐๘วันนี้ หลังจากหลวงปู่สอฉันเช้าเสร็จแล้ว ท่านก็เก็บบริขารขึ้นกุฏิ ขณะที่นั่งพักผ่อนอยู่บนกุฏิ จิตใจของหลวงปู่กำลังนึกถึงนิมิตที่เกิดขึ้นเมื่อพรรษาที่ ๒ และพรรษาที่ ๖ หลวงปู่รำพึงในใจว่า "อะไรหนอ คือสัญลักษณ์ของเราที่จะได้มาในวันนี้"

ในขณะนั้นหูของหลวงปู่ก็พลันได้ยินเสียงเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ ดังลั่นเข้ามาในวัด หลวงปู่จ้องมองออกไปด้านหน้ากุฏิ ก็เห็นเครื่องบินจริง ๆ ต้นไม้บริเวณด้านหน้ากุฏิโอนเอนไปมา ใบไม้ปลิวว่อนไปทั่วบริเวณนั้น หลวงปู่คิดในใจว่า เครื่องบินมันลงจอดที่วัดหรืออย่างไร มันไม่น่าจะลงจอดได้ เพราะบริเวณแคบ แต่ในขณะที่หลวงปู่กำลังคิดอยู่นั้น เครื่องบินดังกล่าวก็ลงจอดลานดินด้านหน้ากุฏิจริง ๆ ท่านเพ่งมองไปยังเครื่องบิน ก็เห็นบุคคลที่นั่งในเครื่องบินนั้น แตกต่างจากคนเราทั่วไป ลักษณะคล้ายกับพระอินทร์หรือเทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง

ขณะที่มองเห็นเทวดานั้น จิตมันบอกหลวงปู่ว่า นั่นคือพระอินทร์ เพราะดูลักษณะการแต่งกาย และสีผิวแล้วคล้ายกับที่เราเคยเห็นในภาพ ในมือของพระอินทร์นั้น เขาถือพิณมาด้วย หลวงปู่มองเห็นพระอินทร์ถือพิณก็นึกถึงพุทธประวัติตอนที่พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา อาศัยที่พระอินทร์มาดีดพิณถวายจึงทรงได้สติในการทำความเพียร เปลี่ยนจากการทรมานตนให้ลำบากมาดำเนินความเพียรทางจิต จนได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระพุทธเจ้าในที่สุด

พระอินทร์เดินตรงมาที่กุฏิหลวงปู่ แต่ไม่ขึ้นมาบนกุฏิ เขาเดินเข้าไปใต้ถุนกุฏิ หลวงปู่ลุกขึ้นไปแล้วก้มมองลงดูใต้ถุนกุฏิก็ไม่เห็นใคร และเมื่อมองกลับไปที่เครื่องบินจอดอยู่ ก็ไม่เห็นเครื่องบินดังกล่าวเลย หายไปอย่างไร้ร่องรอย

หลวงปู่ท่านนึกแปลกใจว่า ทั้งพระอินทร์และเครื่องบินหายไปไหน โดยไม่มีวี่แวว หรือสิ่งนั้นเป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ของเราอย่างนั้นหรือ ขณะกำลังคิดใคร่ครวญอยู่นั้น พลันก็ได้ยินเสียงรถดังเข้ามาในวัด จิตมันบอกกับท่านว่า "มาแล้วนะ มาแล้ว" ไม่นานนักก็มีรถสีขาวเป็นรถบรรทุกวิ่งเข้ามาในวัด และมาจอดตรงบริเวณที่เครื่องบินลงจอดพอดี

หลวงปู่เพ่งมองไปที่รถเห็นบุคคล ๒ คน เป็นหญิงกับชาย ฝ่ายชายเดินถือขันดอกไม้ตรงมาหาหลวงปู่ที่กุฏิ แต่ผู้หญูิงยืนถือห่อผ้าขาวอยู่ที่ข้างรถ หลวงปู่จำได้ว่าบุคคลทั้ง ๒ นี้ คือนายกำพล ทองทิพย์ และนางแท่ง ทองทิพย์ เป็นสามีภรรยากัน มีครอบครัวอยู่ในตัวอำเภอ บ้านผือนั้นเอง เขาเดินขึ้นมากราบหลวงปู่บนกุฏิพร้อมกับยื่นขันดอกไม้ไปถวายหลวงปู่ แต่หลวงปู่ท่านห้ามไว้พร้อมกับถามว่า "โยมมาธุระอะไร" เขาตอบว่า “ผมเอาของมาถวายหลวงพ่อครับ” หลวงปู่ถาม "ของอะไร" “พระพุทธรูปครับ” เขาตอบ

นายกำพล ลุกขึ้นแล้วเดินลงไปข้างล่าง พร้อมกับรับเอาห่อผ้าขาวจากภรรยา แล้วเดินขึ้นมาบนกุฏิพร้อมกัน เขาแก้ห่อผ้าขาวนั้นออก ภาพที่ปรากฏต่อหน้าหลวงปู่สอขณะนั้น คือพระพุทธรูปปางนาคปรก ลักษณะแบบโบราณ จิตของหลวงปู่บอกท่านว่า ใช่แล้ว ! เมื่อชื่นชม พระพุทธรูปพอสมควรแล้ว ท่านจึงถาม ๒ สามีภรรยาว่า เพราะเหตุใด จึงได้เอาพระนี้มาถวายท่าน เขาเล่าความเป็นมาให้ท่านฟังอย่างละเอียดว่า หลายปีมาแล้วที่เขาได้รับพระองค์นี้มาจากพี่ชาย ขณะนั้นเขายังไม่ได้แต่งงาน แต่พอแต่งงานมีครอบครัว ภรรยาของเขาฝันแทบทุกคืนว่า พระพุทธรูปองค์นี้ท่านสั่งให้เอาท่านไปถวายหลวงพ่อวัดป่า จนกระทั่ง มาเมื่อคืนวานนี้พระพุทธรูปองค์นี้ก็ได้บอกและบังคับภรรยาว่าพระพุทธรูปองค์นี้ไม่ใช่ของพวกเธอ เป็นของหลวงพ่อวัดป่า ให้เอาไปถวายท่าน ตอนเช้าวันพรุ่งนี้ เพราะฉะนั้น 2 สามีภรรยาจึงได้นำมาถวายหลวงปู่สอ หลวงปู่ท่านถามเขาว่า “พระพุทธรูปนี้พวกโยมได้มาอย่างไร” เขาตอบว่า "ผมก็ไม่ทราบว่าสืบทอดกันมาอย่างไร แต่เท่าที่จำได้ คือตกทอดมาจาก พ่อของพ่อ (ปู่) พ่อของพ่อตาย พ่อของเขาก็เก็บรักษาไว้ พ่อตาย พี่ชายของเขาก็เก็บรักษาไว้ พี่ชายตาย เขาจึงได้นำมาเก็บรักษาไว้ จนกระทั่ง ณ บัดนี้ก็หลายปีพอสมควร”

เมื่อเขาเล่าความเป็นมาทั้งหมดให้หลวงปู่ฟังแล้ว ท่านจึงบอกให้เขายกขันตอกไม้และพระพุทธรูปเข้ามาถวาย เสร็จแล้วท่านก็ให้ศีลให้พร ๒ สามีภรรยาจึงได้เดินทางกลับไป

หลวงปู่สอท่านไม่รอช้า เมื่อได้รับพระพุทธรูปมาตรงตามนิมิตที่ปรากฏชัดเจนในพรรษาที่ ๒ และพรรษาที่ ๖ เท่ากับเป็นการยืนยันความจริงของนิมิตนั้น ท่านปรารถนาที่จะนำสิ่งของดังกล่าวนี้ไปถวายให้พ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวและหลวงปู่ขาวได้ชม จึงได้เรียกให้โยมคนหนึ่ง ไปเอารถออกมารับท่านไปวัดป่าบ้านตาดและวัดถ้ำกลองเพล

เวลาประมาณ ๔ โมงเช้า หลวงปู่สอไปถึงวัดป่าบ้านตาด ท่านรีบเดินตรงไปยังกุฏิพ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัว ขณะนั้นท่านกำลังนั่งรออยู่ด้านนอกห้อง คล้ายกับว่าท่านกำลังนั่งรอใครอยู่ พอเห็นหลวงปู่สอขึ้นไปกราบบนกุฏิ ท่านก็พูดทักว่า “ว่ายังไงสิ่งที่ท่านพูดเป็นจริงหรือเปล่า”

หลวงปู่สอท่านไม่ตอบ แต่บอกให้คนขับรถไปเอาสิ่งของดังกล่าวนั้นมาถวายให้ท่านดู เมื่อเปิดผ้าที่ห่อคลุมอยู่ออก พ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวพูดว่า “อือ มันเก่งกว่าพ่อมันอีกนะ่ ของดีนะนี่ ให้รักษาให้ดี”

เวลาประมาณเที่ยงวัน หลังจากนำพระพุทธรูปไปถวายให้พ่อแม่ครูอาจารย์มหาบัวท่านชม หลวงปู่สอก็เดินทางไปถึงวัดถ้ำกลองเพล หลวงปู่สอร้องเรียกหลวงปู่ขาวอยู่พักหนึ่งท่านจึงมาเปิดประตูกุฏิ หลวงปู่สอรีบกราบเรียนว่า "ได้มาแล้วครับหลวงปู่"

หลวงปู่ขาวพิจารณาดูพระพุทธรูปอย่างละเอียดพร้อมกับสอบถามความเป็นมาต่าง ๆ แล้วจึงพูดว่า “เป็นของดีจริง ๆ นะ ให้ท่านรักษาไว้ให้ดี” หลวงปู่ขาวขอพระพุทธรูปไว้เพื่อภาวนาดูอีกครั้งหนึ่งประมาณ ๑ อาทิตย์ เสร็จแล้วหลวงปู่สอจึงกราบลาท่านกลับวัดอรัญญิกาวาส

เมื่อครบ ๑ อาทิตย์หลวงปู่สอจึงเดินทางไปวัดถ้ำกลองเพลเพื่อรับพระพุทธรูปคืน หลวงปู่ขาวเล่าให้ท่านฟังว่า ขณะที่พระพุทธรูปองค์นี้ อยู่ในกุฏิท่าน ในตอนกลางคืนจะมีแสงสว่างรุ่งเรืองออกมาจากองค์ท่าน มีอยู่คืนหนึ่งมีช้างป่ามาเดินวนเวียนอยู่ข้างกุฏิท่าน แสงสว่างจากองค์พระทำให้สามารถมองเห็นช้างได้

หลวงปู่ขาวได้มอบพระคืนให้หลวงปู่สอ พร้อมกับพูดว่า “พระพุทธรูปนี้เป็นของดีจริง ๆ นะ ดูลักษณะของท่านสิ ปกป้องคุ้มครอง ต่อไปภายหน้าบ้านเมืองจะได้พึ่งพาอาศัยท่าน ให้รักษาไว้ให้ดี ๆ"

ข่าวคราวที่หลวงปู่สอไต้รับพระพุทธรูปเก่าแก่มีความศักดิ์สิทธิ์ ตรงตามนิมิตที่ปรากฏไว้ เป็นเรื่องเล่าลือกันในหมู่พระเถระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และเพื่อนสหธรรมิกหลายรูป ในจำนวนนี้มีพระเถระผู้ไหญ่ในสายกัมมัฏฐาน ได้เดินทางมาขอดูพระพุทธรูปดังกล่าวที่วัดอรัญญิกาวาส เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และหลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นต้น โดยเฉพาะหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ได้มาพักค้างคืนอยู่กับท่านด้วย หลวงปู่ฝั้นพูดกับหลวงปู่สอว่า “ไหนเอามาดูซิ พระที่เกิดในสมาธิ” เมื่อหลวงปู่สอถวายให้ท่านดูแล้ว หลวงปู่ฝั้นท่าน บอกว่า “อือ ! ดีจริง ๆ หายากนt พรtที่เกิดจากสมาธิอย่างนี้ ร้อยองค์ พันองค์ก็ไม่มีองค์หนึ่งนะ”

หลังจากที่หลวงปู่สอ พันธุโล ได้รับพระพุทธรูปมาตามนิมิตที่ปรากฏขณะทำสมาธิ ปรากฏว่าพระพุทธรูปองค์นี้สามารถที่จะสื่อความหมายหมายกับหลวงปู่สอได้ ท่านจะทำอะไร จะไปที่ไหน หรือมีเหตุการณ์อะไร พระพุทธรูปองค์นี้มักจะบอกหรือตักเตือนท่านเสมอ ในบางครั้งท่านจะ เทศน์อบรมหลวงปู่สอเหมือนกับครูบาอาจารย์ที่หวังดีต่อศิษย์ คอยพร่ำสอนตักเตือนศิษย์ทีเดียว

หลวงปู่สอท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่าในช่วงเวลาที่ออกเที่ยวธุดงค์ ท่านก็จะอาราธนาใส่ในย่ามสะพายไปไหนต่อไหนตลอดระยะเวลาประมาณ ๒๐ ปี จนย่ามขาดไปหลายผืน หรือแม้กระทั่งเส้นเอ็นบริเวณบ่าไหล่หลวงปู่เสีย ทำให้เจ็บปวดเวลายกแขนอยู่เสมอ จนกระทั่งปัจจุบันนี้

ในคราวที่ได้พระพุทธรูปมาใหม่ๆ ลูกศิษย์หลวงปู่คิดจะเรียก พระพุทธรูปองค์นี้ว่า หลวงพ่อนาค ซึ่งไปตรงกับหลวงพ่อนาค บ้านแวง อำเภอบ้านผือ หลวงปู่จึงกราบเรียนถามท่านว่าชื่ออะไร ท่านบอกว่าท่าน เป็นสัจธรรม ให้เรียกชื่อท่านว่าหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ หลวงปู่สอ และ ลูกศิษย์ของท่านจึงเรียกพระพุทธรูปองค์นี้ว่า "หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์" ตั้งแต่บัดนั้นมา

ลักษณะของพระพุทธรูป “หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์"

เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ขนาดกว้างฐานพระประมาณ ๑๐ นิ้ว สูงประมาณ ๑๕ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปหล่อแบบโบราณเนื้อสัมฤทธิ์ น้ำหนักประมาณ ๑๐ กิโลกรัม อายุตามการสันนิษฐานของเจ้าหน้าที่ กรมศิลปากร ประมาณ ๘๐๐ ปี ซึ่งใกล้เคียงกับที่หลวงปู่สอกราบเรียนถามหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ท่านว่าอายุ ๘๐๐ กว่าปี นอกจากนั้นท่านยังบอกว่า ท่านเข้ามาครั้งแรกที่จังหวัดนครปฐม ในประเทศไทยจะมีพระพุทธรูปลักษณะเช่นนี้อยู่ ๒ องค์ องค์หนึ่งในเจดีย์ นครปฐม ส่วนอีกองค์หนึ่งอยู่กับหลวงปู่สอ พันธุโล วัดบ้านหนองแสง จังหวัดยโสธร

พระพุทธรูป หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์นี้ ยังมีลักษณะที่แปลก คือ มีพญางูใหญ่ ๗ ตัว ๗ หัว แผ่ปกคลุมองค์พระอยู่ โดยส่วนมากแล้วเราจะเห็นเฉพาะเป็นนาคตัวเดียว ๗ หัว หรือ ๕ หัว เท่านั้น องค์พระมีลักษณะคล้ายศิลปะสมัยเชียงแสนหรือทางเวียงจันทน์

พุทธานุภาพของพระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์)

ในเรื่องอานุภาพและพุทธคุณหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์นั้น ในสมัยที่ หลวงปู่สอ พันธุโล ยังจำพรรษาอยู่วัดอรัญญิกาวาส อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นที่ทราบดีว่าเวลาชาวบ้านหรือใครมีปัญหาอะไรก็มัก จะไปให้หลวงปู่สอท่านช่วยถามหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ให้ว่าเหตุการณ์นั้น ๆ จะเป็นเช่นไร

หลวงปู่สอท่านเล่าให้ฟังว่า มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อนาคบ้านแวงถูกขโมยลักไปพร้อมกับพระพุทธรูปของวัดใกล้เคียงอีกหลายองค์ ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านในสมัยนั้นได้มากราบเรียนถามหลวงปู่สอว่าจะได้คืนหรือไม่ และถ้าได้คืนจะติดตามไปทิศไหน

หลวงปู่กราบเรียนถามหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์แล้ว ท่านบอกญาติโยมบ้านแวงว่า ได้คืนภายใน ๑๕ วัน และให้ติดตามไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ทางจังหวัดหนองคาย ก็จะได้ของดังกล่าวคืน ขณะนี้ของดังกล่าวมีคนยึดไว้ได้แล้ว และเมื่อชาวบ้านติดตามไปก็ได้สิ่งของนั้นคืน เพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจยึดของกลางที่ผู้ร้ายเอามาออกเร่ขายไว้ได้

เพื่อเป็นการยืนยันให้เห็นถึงลักษณะของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ว่าท่านพูดได้ หรือติดต่อสื่อความกับหลวงปู่สอได้ ผู้เขียนขอยกเรื่องหนึ่งที่ท่านเคยเล่าให้ฟังอยู่บ่อย ๆ คือ ในช่วงที่ประเทศลาวกำลังมีการปฏิวัติรัฐประหาร บ้านเมืองเกิดการต่อสู้ฆ่าฟัน ทั้งนี้เราเรียกการปฏิวัติใน ครั้งนั้นว่า กองแลปฏิวัติ หลวงปู่ไปพักภาวนาอยู่วัดร้างแห่งหนึ่ง ในระหว่างนั้น ทหารทั้งสองฝ่ายต่อสู้กัน ยิงปืนและลูกระเบิดข้ามหัวไปมาอยู่ตลอดวันตลอดคืน หลวงปู่ท่านพิจารณาเห็นว่า ถ้าจะอยู่ต่อไปก็จะไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ท่านจึงตัดสินใจจะข้ามมาฝั่งไทย ในขณะจิตคิดเช่นนั้น ปรากฏเสียงเทศน์อบรมของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ขึ้น เพื่อให้หลวงปู่สอได้พิจารณาตาม มีอยู่ตอนหนึ่งหลวงปู่สอบอกหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ว่า "จะอยู่ได้อย่างไร มันยิงปืนมาถูกกระบาลก็ตายสิ !” หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ให้กำลังใจหลวงปู่สอว่า “ไปกลัวมันทำไม ไอ้กองแล” การ โต้ตอบกันระหว่างหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์และหลวงปู่สอ ดำเนินไปนานพอสมควร สุดท้ายหลวงปู่สอท่านก็ตัดสินใจกลับมาฝั่งไทยในตอนเช้าของวันต่อมา และไปพักอยู่กับหลวงปู่บัวพา วัดป่าพระสถิตย์

หลวงปู่สอเล่าพลางหัวเราะว่า “ถ้าเชื่อท่านตอนนั้นไม่รู้เหตุการณ์จะเป็นอย่างไร"

หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์นับว่าท่านเป็นพระพุทธรูปคู่บุญบารมีของหลวงปู่สอ พันธุโล เมื่อเราเห็นหลวงปู่สอ นั่นหมายความว่าเราต้องเห็นหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ และไม่ว่าท่านจะเดินทางไปที่ไหนหลวงปู่ท่านมักจะอัญเชิญหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ไปด้วยเสมอ นอกจากนี้ ในเรื่องอานุภาพและพระพุทธคุณหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ที่ได้เกิดขึ้นมีมากมายหลายเหตุการณ์ด้วยกัน แต่ ณ ที่นี้จะนำมาเพียงบางเหตุการณ์เท่านั้นเพื่อนำมาเป็นข้อคิดและ/หรือคติสอนใจให้กับท่านทั้งหลาย ดังนี้

๑. ช่วยให้ฝนตกที่เขื่อนสิริกิติ์

มีอยู่ครั้งหนึ่งคณะศิษย์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนิมนต์ท่านและคณะสงฆ์ไปแผ่เมตตาและอบรมธรรมแก่พนักงานของเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ถ้าจำไม่ผิดคงเป็นช่วงเดือนเมษายน ปี ๒๕๔๑

ขณะที่ไปถึงเขื่อนสิริกิติ์ เจ้าหน้าที่ที่ทำงานอยู่ที่นั่นรายงานว่าที่นี่ฝนไม่ตกมานานแล้ว ไม่ทราบว่าปีนี้จะแล้งอีกหรือเปล่า

ในตอนบ่าย คณะสงฆ์ได้ลงเรือไปทำอุโบสถสังฆกรรมในเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งถือว่าเป็นอุโบสถสังฆกรรมครั้งประวัติศาสตร์ เมื่อทำอุโบสถสังฆกรรมเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่สอนำนั่งสมาธิ จนได้เวลาพอสมควรท่านจึงยุติ หลังจากนั้น หลวงปู่ไต้พูดคุยกับลูกศิษย์ทั้งหลายว่า “คืนนี้ฝนจะตก ทุกคนบนเรือไม่มีใครคิดว่ามันจะเป็นอย่างที่หลวงปู่พูด เพราะมันไม่มีวี่แววว่าฝนจะตกเลย กว่าที่เรือจะเข้าเทียบฝั่งได้ก็ใช้เวลาเกือบ ๑ ชั่วโมง พอเข้าที่พักรับรองหลวงปู่พูดกับลูกศิษย์อีกว่า “คืนนี้จะไม่นอน จะภาวนาขอหลวงพ่อให้ฝนตก”

ประมาณ ๔ ทุ่มครึ่ง ปรากฏท้องฟ้าเริ่มมีเมฆมาก ลมพัดแรง เสียงฟ้าร้องสนั่นไปทั่วหุบเขา ฝนเริ่มตกลงมานานประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง กิ่งไม้ใบไม้บริเวณที่พักรับรองหล่นเกลื่อนกลาดไปหมด แม้เต็นท์ที่ทางเจ้าหน้าที่จัดไว้สำหรับใช้เป็นที่ตักบาตรทำบุญในช่วงตอนเช้าก็ถูกกระแสลมพัดล้มระเนระนาดเปียกปอนหมด ผู้เขียนอยู่ในเหตุการณ์ตลอด มีความรู้สึกอัศจรรย์ใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจนขนลุกเกิดปีติยินดีในอานุภาพของท่าน เพราะแต่ก่อนมันไม่มีวี่แววเลยว่าฝนจะตก แต่คืนนั้นฝนก็ตกลงมาตามที่หลวงปู่สอท่านพูด เหตุการณ์ครั้งนั้นยังคงประทับอยู่ในความทรงจำของคณะศิษย์และเจ้าหน้าที่ของเขื่อนสิริกิติ์จนกระทั่งบัดนี้

๒. เอื้ออำนวยให้บังเกิดโชคลาภ

ผู้เขียนเคยได้ยินหลวงปู่สอท่านเล่าให้ฟังว่า มีลูกศิษย์ของท่านทางจังหวัดพิษณุโลก เคยประสบปัญหาหลายอย่าง มีการฟ้องร้องคดีความกันในระหว่างญาติพี่น้อง แต่เนื่องจากโยมคนนี้เป็นคนดีมีศีลธรรม เขาได้เคยกราบหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์และหลวงปู่สอ ตลอดถึงมีความศรัทธาเชื่อมั่นมานานแล้ว มีอยู่วันหนึ่ง เขาทำวัตรสวดมนต์เย็นและนั่งสมาธิอยู่ ปรากฏหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์มาบอกว่า “อย่าเป็นคดีความกันเลย เขาอยากได้ที่ดินมรดกก็ให้เขาไปเถอะ หลวงพ่อจะช่วยเหลือเอง” เนื่องจาก โยมคนนี้เขามีความเคารพศรัทธาเชื่อมั่นในหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์อยู่แล้ว เมื่อท่านมาบอกจึงปฏิบัติตาม หลังจากนั้นมาเวลานั่งสมาธิ หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จะมาให้กำลังใจเขาเสมอและแนะนำให้ดำเนินชีวิตประกอบกิจการตามที่เหมาะสมอยู่เสมอ จากที่โยมคนนี้มาอยู่พิษณุโลก ต้องเช่าที่ดินเขาอยู่ ต้องกู้เงินจากธนาคารมาซื้อที่เพื่อสร้างบ้าน โดยที่มีเงินเดือนจากการทำงานราชการเพียงนิดหน่อยสำหรับใช้หนี้ แต่ด้วยความเป็นคนดีมีศีลธรรม และยึดมั่นในพระรัตนตรัยและหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ เขาได้ผ่านพ้นอุปสรรคปัญหามาด้วยความภูมิใจและมีฐานะการงานการเงินที่ดีขึ้น ที่ดินที่กู้เงินมาซื้อไว้ปรากฏว่ามีการตัดถนนรอบเมืองผ่าน มีคนมาขอซื้อเป็นเงินล้านกว่าบาท ปัจจุบันเขามีตึกสาหรับค้าขาย มีอาชีพที่มั่นคง มีความสุขความอบอุ่นในครอบครัวเป็นอย่างดีและที่สำคัญ เขาเป็นผู้นำเพื่อนฝูงและญาติมิตรในการบำเพ็ญบุญมาโดยตลอด

๓. เอื้ออำนวยให้การค้าขายประสพผลสำเร็จ

ส่วนผู้ที่มีอาชีพค้าขาย หลายคนที่ได้รับพระกริ่งหรือเหรียญหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ไปสักการบูชา และเป็นคนที่ดีมีศีลธรรม เมื่อเขาตั้งจิตอธิษฐานขอพึ่งพุทธบารมีของท่าน ไม่นานก็ได้รับผลสำเร็จตามสมควรแก่กิจการนั้น ๆ แก่บุคคลนั้น ๆ ขอยกตัวอย่างผู้ที่ได้รับผลสำเร็จแล้วเขามาเล่าให้ผู้เขียนฟัง

ได้มีแม่ค้าขายอาหาร อยู่ในตลาดโชคชัย 4 ผู้เขียนชอบเรียกเขาว่า “โยมอ้วน” เมื่อปี ๒๕๔๑-๒๕๔๒ เขาโดนพิษเศรษฐกิจเล่นงานหนัก รถที่ใช้ค้าขายคู่ชีพก็ถูกยึด เพราะไม่มีเงินส่งงวด ยิ่งกว่านั้นการค้าขายก็ไม่ดี ได้กำไรบ้างอยู่ตัวบ้าง ขาดุนบ้าง ทำให้ทุกข์ใจมาก จิตวิตกต่าง ๆ นานา และเป็นธรรมดาของคนทำงานหนัก ใช้แรงงานมากเกินไป เมื่อทุกข์ใจมีปัญหา ก็มักจะหาทางออกด้วยการดื่มเหล้า ท่านวิญญูชน พึงไตร่ตรองดูเถิดว่า ถ้าเหล้ามันช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาจิตใจได้เหมือนอย่างที่หลายคนคิดกัน ป่านนี้คนที่ชอบกินเหล้า เจริญกันไปหมดแล้วและพระพุทธเจ้าก็คงจะไม่ทรงห้ามไว้ในศีลข้อที่ ๕ แต่อย่างใดเลย ในทางตรงกันข้ามเรามักจะได้ยินผลเสียของเหล้าอยู่เสมอ เช่น เมาสุราอาละวาด เมาสุราแล้วขับรถประมาท เมาสุราแล้วขาดสติ ประพฤติผิดจารีตประเวณี สุขภาพกายแย่ สุขภาพจิตเสื่อมถอย ตลอดถึง เป็นโรคตับแข็ง เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง เป็นต้น โยมอ้วนพอเจอปัญหาก็มักจะดื่มเหล้าทุกวัน เพื่อดับความกลุ้มใจ แต่ยิ่งดื่มก็ยิ่งเพิ่มปัญหา เพราะ นอกจากจะค้าขายไม่ได้แล้วรายจ่ายกลับเพิ่มขึ้น บางวันเมามากก็ตื่นสาย ทำงานไม่ค่อยได้ เป็นสภาพที่ทุกข์มากเหมือนกัน และสภาพการณ์อย่างนี้ก็ดำเนินต่อเนื่องกันมานานเป็นปี เมื่อมีคนในตลาดโชคชัยเล่าให้ฟัง เรื่องหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ และแนะนำให้เข้าไปกราบอธิษฐาน ก็ยังชั่งใจอยู่นานเพราะไม่รู้จักเจ้าของบ้านเรือนไทย คือคุณวิลาส - คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต แต่เมื่อเห็นว่าการไปทำบุญ กราบพระอธิษฐานขอพึ่งพุทธบารมีจากท่านน่าจะช่วยให้มีกำลังใจ มีความอบอุ่นใจ และมีที่พึ่งทางใจมากขึ้น

เขาได้ไปกราบหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลอง ขนาด ๓๙ นิ้ว ที่บ้านเรือนไทย บางครั้งก็ได้กราบหลวงปู่สอ พันธุโล ด้วย ได้อธิษฐานขอพึ่งพุทธบารมีขอให้ค้าขายดี มีกำไร เลี้ยงครอบครัวได้ หลังจากนั้นมา เขาพบว่าอาหารเริ่มขายได้ดีมากขึ้น มีกำไรมากขึ้น บางครั้งมีโชคลาภด้วย ก็ยิ่งทำให้เขามีกำลังใจในการทำความดี ทุกวันเขาจะไปกราบหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ที่บ้านเมืองไทย วันละ ๓ ครั้งเป็นอย่างน้อย จากคนที่มี ความท้อแท้มีความทุกข์ใจและไม่ค่อยได้ทำบุญให้ทาน และชอบดื่มเหล้าเป็นประจำ เขาได้ปรับปรุงตัวเองใหม่ รู้จักไหว้พระสวดมนต์ รู้จักทำบุญให้ทานเป็นประจำ รู้จักฟังธรรม พยายามงดเว้นจากการดื่มเหล้าโดยมีจิตใจยึดมั่นอยู่ในคุณพระรัตนตรัย และหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ นับว่าเขาได้ พบเส้นทางชีวิตที่ปลอดภัยและได้รับความสุขความสำเร็จในอาชีพตามสมควรแก่ฐานะของเขาเป็นอย่างดี ปัจจุบันโยมอ้วนก็ยังค้าขายอยู่ที่ตลาดโชคชัย 4 แต่ระยะหลังจากนี้มีภาระมากขึ้น เนื่องจากตั้งจิตอธิษฐานไว้ว่า ถ้ามีโชคแล้วจะซื้อรถคันใหม่ มารับใช้อุปถัมภ์ในการเดินทางแก่ หลวงปู่สอ พันธุโล และคณะสงฆ์ ปรากฏว่ามีโชคลาภจริง ๆ ขณะนี้ได้ออกรถตู้คันหนึ่งวิ่งโดยสารอยู่ในกรุงเทพฯ เลยทำให้มีภาระมาก ไม่ค่อยมีเวลามากราบไหว้พระและทำบุญเหมือนแต่ก่อน

๔. ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัย

หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ นอกจากจะเอื้ออำนวยสนับสนุนให้ผู้ที่เคารพ ศรัทธา และเป็นผู้ที่มีศีลธรรมอันดีงาม ประสพโชคลาภ ตลอดถึงมีความสำเร็จในอาชีพที่สุจริตตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคลแล้ว ในต้านที่ช่วยให้แคล้วคลาดปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ก็มีปรากฏเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรย์ใจอยู่หลายเรื่องดังจะยกมาเล่าเป็นเครื่องยืนยันถึงพุทธานุภาพของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ดังต่อไปนี้

เมื่อปลายปี ๒๕๔๒ ในช่วงเทศกาลทำบุญทอดกฐิน คือ ในระหว่างเดือนตุลาคม (ออกพรรษาแล้ว) ไปจนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน ระยะเวลาประมาณ ๑ เดือน มีพระพุทธานุญาตให้พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ในอาวาสใดอาวาสหนึ่งตลอดไตรมาส ๓ เดือน และมีจำนวน ๕ รูป ขึ้นไป รับผ้ากฐินสำหรับนำมาตัตเย็บเป็นผ้าไตรจีวรได้ เรียกว่าเป็นช่วงกฐินกาล หรือจีวรกาล เมื่อเลยกำหนดนี้ไปแล้วก็ไม่สามารถทำได้

ในช่วงดังกล่าวนี้ ที่วัดป่าบ้านหนองแสง อ.เมือง จ.ยโสธร คณะศิษยานุศิษย์ ซึ่งมี คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต เป็นประธาน ได้เชิญองค์ผ้าพระกฐินพระราชทานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ไปทอดถวาย แด่หลวงปู่สอ พันธุโล และคณะสงฆ์วัดป่าบ้านหนองแสง ด้วย ในวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ ขณะเดียวกันก็ได้จัดตั้งกองผ้าป่าสำหรับถวายวัดต่าง ๆ อีกจำนวน ๘ วัด รวมเป็น ๙ วัด พอดีทั้งนี้คณะ กรรมการดำเนินงาน ได้ถือเอานิมิตมงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ (๗๒ พรรษา) น้อมจิตถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ในวโรกาสอันเป็นมงคลนี้ด้วย และได้มีพุทธศาสนิกชนผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ และหลวงปู่สอ พันธุโล บริจาคทรัพย์ในการบุญครั้งนั้น รวมทั้งหมด ประมาณ ๖ ล้าน ๕ แสนบาท ในโอกาสเดียวกันนี้คณะกรรมการได้ขออนุญาตหลวงปู่สอ สร้างเหรียญหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์สำหรับแจกในงานกฐินด้วย รูปแบบเหรียญนั้นเป็นพิมพ์หยดน้ำ ด้านหน้าเป็นหลวงพ่อเจ็ด กษัตริย์ ด้านหลังเป็นรูปเจดีย์ที่วัดป่าบ้านหนองแสงปรากฏว่ามีตำรวจจากจังหวัดอุบลราชธานีมาร่วมงานได้รับแจกเหรียญไปด้วย เมื่อเขาลงไปกรุงเทพฯ เพื่อติดต่อราชการขณะเดินทางด้วยรถยนต์ไปกับคณะประมาณ๔-๕ คน รถได้ชนกันอยู่บนสะพาน ด้วยความเร็วของรถจึงทำให้แรงกระแทกรุนแรงมาก รถเสียหายแต่คนอยู่บนรถทั้งหมดไม่มีใครได้รับบาดเจ็บเลย เขาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าในขณะที่รถจะชนกัน เขาเห็นพระสงฆ์ คล้ายหลวงปู่สอ ยืนอยู่ด้านหน้ารถ แล้วเอามือดันหน้ารถไว้ ไม่ให้ กระแทกแรง วันต่อมาเขารีบไปกราบหลวงปู่ที่บ้านเรือนไทย ลาดพร้าว กทม. เล่าเรื่องทั้งหมดถวายท่าน ซึ่งก็มีคณะกรรมการและญาติโยมที่มากราบนมัสการหลวงปู่สอ ได้ยินที่เขาเล่าถวายหลวงปู่ด้วยหลายคน

ปัจจุบันตำรวจคนมิได้ขอย้ายเข้าไปทำงานที่กรุงเทพฯ อยู่สายตรวจ ๑๙๑ ผู้เขียนจำไม่ได้ว่าอยู่สถานีตำรวจใด แต่ก็รู้จักกันดีเพราะเขาเคยไปทำบุญที่วัดบ่อย ๆ

เรื่องที่ยกมาเล่า เพื่อยืนยันถึงพุทธานุภาพหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ที่ช่วยให้ผู้เคารพศรัทธา รอดพ้นจากการบาดเจ็บ หรือสูญเสียชีวิต เป็นประสบการณ์ตรงที่น่าหวาดเสียว และน่าสะพรึงกลัวอย่างยิ่ง ท่านผู้อ่านคงนึกอยากจะถามผู้เขียนว่า “ที่ไม่มีอุบัติเหตุเลย หรือไม่มีการ สูญเสียเลย ไม่มีหรือ” ขอตอบว่า มีอยู่บ้างเหมือนกัน เช่น คนขับรถไปกรุงเทพฯ กับผู้เขียนเมื่อปี ๒๕๔๑ ขณะขับรถจะเข้าสู่เขตกรุงเทพฯ เวลาประมาณตี ๔ คนขับรถมีชื่อว่า อนุสิทธิ์ วังภูสิทธิ์ หลับในขณะรถวิ่งอยู่เลนกลางถนนใหญ่ ผู้เขียนก็ไม่เฉลียวใจเพราะก็วิ่งไปปกติอยู่ แต่ไม นานคนขับก็ชะลอรถ เปลี่ยนเลนไปชิดซ้ายแล้วก็จอดรถ เปิดประตูรถลงไป ปัสสาวะที่ข้างถนน แล้วกลับมาขึ้นรถขับไปจนถึงบ้านเรือนไทยลาดพร้าว ประมาณตี ๕

ตอนเช้า เขาเล่าให้ฟังว่า ขณะขับรถมาก่อนจะจอดรถเขาหลับในอยู่หลายนาที และช่วงเวลานั้นมีคนมากระซิบที่หูว่า “ให้ชะลอรถ และชิตซ้าย” เขาก็ปฏิบัติตาม เมื่อรถจอดแล้วเขาจึงสะดุ้งตื่นขึ้นจากความหลับ ผู้เขียนมานึกย้อนดูเหตุการณ์ในวันนั้นแล้วก็อดหวาดเสียวไม่ได้ เพราะรถมาด้วยความเร็วประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตรต่อชั่วโมง และรถก็บรรทุกหนักด้วย คือ บรรทุกรูปเหมือนหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลองขนาด ๙ นิ้ว ประมาณ ๕๐ องค์ ไปส่งที่บ้านเรือนไทย กทม. จากเหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ผู้เขียนมีความเชื่อมั่นว่า หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ท่านช่วยเหลือปลอดภัย ในการเดินทางได้จริง ๆ

๕. ช่วยบรรเทาทุกข์จากโรคภัยไข้เจ็บ

มีโยมคนหนึ่ง เคยไปกราบหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ และหลวงปู่สอ พันธุโล ที่บ้านเรือนไทย ลาดพร้าว กทม. เขาเคยได้รับพระกริ่งหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ไปบูชาในคราวทำบุญสร้างหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์จำลอง ขนาดใหญ่ จำนวน ๗ องค์เมื่อปี ๒๕๔๑ โยมคนนี้มีชื่อว่า ชาย นามสกุล วัชราภัย บ้านอยู่ที่ กทม. ญาติโยมที่ไปทำบุญที่บ้านเมืองไทย ชอบเรียก เขาว่า “คุณชาย” แต่ไม่ใช่คุณชายในนิยาย บ้านทรายทอง่! เขาเล่าให้ใครต่อใครฟังเสมอว่าเขานี่แหละ ที่หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ช่วยให้พ้นทุกข์จากการเป็นนิ่วในไต เมื่อกลางเดือนสิงหาคม ปี ๒๕๔๒ มีอยู่วันหนึ่งเขามีอาการปวดเอวลามมาที่ท้องอย่างรุนแรงจนตัวงอ เขาบอกภรรยาว่าปวดเอวและท้องอย่างแรง จะไปพบหมอที่โรงพยาบาล จึงโทรไปนัดคุณหมอที่โรงพยาบาลนวมินทร์ เขตมีนบุรีไว้ คุณหมอทราบจากคนป่วยว่ามีอาการรุนแรง ก็จัดเตรียมห้องสำหรับผ่าตัดไว้เรียบร้อย ขณะนั่งรถไปโรงพยาบาลกับภรรยา เขาได้อธิษฐานหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ที่ห้อยคออยู่ และกำพระไว้แน่นว่า “ขออย่าให้ลูกเป็นอะไรมากเลย ขออย่าให้ต้องผ่าตัดเลย ขอให้หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ช่วยลูกเถิด” ปรากฏว่าเมื่ออธิษฐานแล้วไม่นาน อาการปวดที่เอวบริเวณไตก็ลดลง พอรถถึงโรงพยาบาล เขาบอกว่าอาการที่ปวดอย่างทรมานนั้นหายไป แทนที่เขาจะรีบตรงไปหาหมอที่นัดไว้ เขาก็แวะไปเข้าห้องน้ำก่อน ขณะปัสสาวะนั้นเม็ดนิ่วขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียวก็ตกออกมา เขาหยิบเอาไปล้างแล้วรีบไปหาหมอ คุณหมอแปลกใจว่ามันเป็นไปได้อย่างไร เพราะนิ่วในไตนั้นออกยาก ต้องผ่าตัด แต่สำหรับคุณชายนั้น แม้หมอจะไม่เชื่อว่ามันเป็นไปได้ แต่เขาก็มั่นใจว่ามันเป็นไปได้ ทั้งนี้เพราะมันเป็นไปแล้ว และเขาปลอดภัยพ้นจากความทุกข์ตรงนั้นมาแล้ว สุดท้ายห้องผ่าตัดก็ต้องยกเลิก คนป่วยก็สบายใจแล้วเดินทางกลับบ้าน

ตอนเช้าวันต่อมาเขาไปเล่าเรื่องถวายหลวงปู่สอ ที่บ้านเมืองไทย ขณะนั้น คุณหญิงสุรีพันธุ์ ก็อยู่ด้วย จึงได้เอาหลักฐาน คือก้อนนิ่วให้ดูด้วย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับคุณชายนี้ หากไม่มีความเชื่อมั่นในพุทธคุณ ธรรมคุณ และ สังฆคุณแล้ว เราก็สามารถมองในแง่ที่เป็นไปได้อื่นๆ เช่น ก้อนนิ่วมันเริ่มโต แล้วอาจตกจากไตไปอยู่ในท่อปัสสาวะเวลาจะปัสสาวะ น้ำปัสสาวะไปดันให้นิ่วหลุดออกมาได้ และบังเอิญเป็นเวลาที่คุณชายอธิษฐาน หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์พอดี ถ้าเราคิดและมองอย่างนี้ก็เป็นสิทธิ์ของแต่ละบุคคล ส่วนความจริงเป็นเช่นใด ก็ยังคงเป็นความจริงอยู่เช่นนั้น แต่เหตุการณ์ในลักษณะอย่างนี้ หรือหายป่วยอย่างนี้ ก็คงไม่เกิดขึ้นกับทุกคนเสมอไป เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นกฎธรรมชาติของสังขาร เราหายป่วยวันนี้ พรุ่งนี้เราอาจจะป่วยอีกก็ไต้ หรือเราหายจากโรคไตปีนี้ ปีหน้าเราอาจจะทุกข์เพราะโรคหัวใจก็ได้ เมื่อกฎความจริงเป็นเช่นนี้การพึ่งพระรัตนตรัย จึงมีหลายระดับ และระดับที่สามารถเข้าถึงความจริงในเรื่องของอนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความเป็นทุกข์ อนัตตา ความไม่มีสาระแก่นสาร ได้นั้น ก็จะต้องเป็นเรื่องของจิตภาวนา คือการอบรมจิตด้วยสมาธิ และ วิปัสสนา เท่านั้น

ที่ยกมาเล่าในที่นี้ ก็เพื่อชี้ให้เห็นอานุภาพของจิตที่ยึดเหนี่ยวในสิ่งประเสริฐสูงสุด คือพระรัตนตรัย ซึ่งมีหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์เป็น เครื่องหมาย และชี้ให้เห็นถึง พุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณว่า เมื่อใครก็ตามมีจิตมั่นคงและแน่วแน่ต่อ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา เขาย่อมเชื่อว่าได้เข้าถึงคุณของพระรัตนตรัยแล้วระดับหนึ่ง เมื่อเขาเข้าถึง เขาย่อมได้รับประโยชน์ตามสมควรแก่การปฏิบัตินั้นๆ

๖. ช่วยตักเตือนให้ละชั่วทำดี

ตามที่ หลวงปู่สอ พันธุโล ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า ในสมัยที่ท่าน เที่ยวธุดงค์ไปที่ต่าง ๆ และอัญเชิญหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ไปด้วย หลายครั้งที่ท่านมีปัญหาเกี่ยวกับการภาวนา หรือมีความคิดวิตกในเรื่องไม่เหมาะสมอื่นๆ หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ท่านก็จะเทศน์เตือนและแนะนำให้ปรับจิตใจเข้าสู่หลักธรรมปฏิบัติอยู่เสมอ แม้เวลาที่เกิดความกลัวต่อภัยต่าง ๆ ก็จะได้การปลอบใจ และปลุกใจให้กล้าหาญอยู่เสมอ ดังปรากฏอยู่ในประวัติ และปฏิปทาของท่าน

แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในปี ๒๕๔๑ เกิดขึ้นกับญาติโยมผู้ที่รับพระหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ไปบูชาประจำตัว โยมคนนี้มีชื่อว่า พีระศักดิ์ ตรีโยธา เป็นครูสอนอยู่โรงเรียนบ้านศรีสมบูรณ์ ตำบลนิคม อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ในปี ๒๕๔๑ นั้น ครูคนนี้ไป ศึกษาต่อที่สถาบันราชภัฏมหาสารคาม มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ทางสถาบันนำนักศึกษาไปทัศนศึกษาประเทศลาว และได้ไปพักค้างคืนอยู่วัดแห่งหนึ่งในเมืองลาวนั้น ด้วยความที่เป็นนักดื่มคนหนึ่ง จึงร่วมกันกับเพื่อนๆ ไปดื่มเหล้าอยู่ข้างนอกวัดจนเมา พอถึงเวลาเย็นกลับเข้าวัดอันเป็นที่พัก นำเหล้าเข้าไปดื่มในวัดอีก เมื่อได้เวลาพักผ่อนก็แยกย้ายกันพักตามที่ทางวัดจัดให้ เขาล้มตัวลงนอนอย่างคนเมาไปได้ครู่หนึ่งก็ตกใจสะดุ้งตื่นขึ้นด้วยความหวาดกลัว

เขาเล่าว่า “ขณะหลับไปนั้นฝันว่าหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ มาประทับอยู่ที่หัวนอนองค์ใหญ่มาก งูที่แผ่พังพานครอบองค์หลวงพ่อ เจ็ดกษัตริย์ทั้ง ๗ ตัวนั้นเป็นดังที่มีชีวิตจริง ๆ และน่ากลัวมาก โดยเฉพาะตัวกลางนั้นแยกเขี้ยวฉกลงมาจะกัดเขาหลายครั้ง เป็นเหตุให้เขาดิ้นรนหนีจากการถูกกัด จนเหงื่อไหลและร้องขึ้นอย่างไม่รู้ภาษาด้วยความหวาดกลัวแล้วสะดุ้งตื่นขึ้น เมื่อพิจารณาเหตุการณ์ในฝันพอสมควรแล้วก็ล้มตัวลงนอนอีก ช่วงนี้ก็ฝันไปว่า มีตาผ้าขาว (ชีปะขาว) รูปร่างสูงใหญ่ถือไม้เท้า เดินเข้ามาหาพร้อมกับตักเตือนให้เลิกละจากการประพฤติตัวไม่เหมาะสม ตาผ้าขาวพูดว่า “กูตามดูมึงมาหลายครั้งแล้ว ต่อไปถ้ายังประพฤติไม่ตี เช่นนี้อีก กูจะไม่คุ้มครองรักษามึง” เรื่องนี้เกิดขึ้นที่เมืองลาว และพอกลับมาเขาจึงได้เล่าเรื่องให้ผู้เขียนฟัง ทำให้เพิ่มความเชื่อมั่นศรัทธาว่า ใครก็ตามที่มีพระหลวงพ่อเจ็ดกษัตริยว้สักการบูชา ที่บ้านหรือประจำตัว หากเป็นคนมีศีลธรรมมีคุณธรรม คนนั้นจะได้รับการคุ้มครอง จากพุทธานุภาพของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์แต่ถ้ามีแล้วไม่เคารพสักการะ ไม่ประพฤติตัวให้ดีงาม หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ก็ไม่มีพุทธานุภาพสำหรับบุคคลนั้นเลย

๗. ช่วยให้ปลอดภัยจากไฟไหม้บ้าน

เหตุการณ์ที่เกี่ยวกับไฟไหม้บ้าน แต่เมื่อเจ้าของบ้านได้อธิษฐานขอพึ่งพุทธบารมีของหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ แล้วไฟอ่อนกำลังลง หรือเปลี่ยนทิศทางแล้วดับไป ขอยกตัวอย่างที่มีผู้เล่าให้ฟังดังนี้ บ้านพักของประธานกรรมการดำเนินการสร้างหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ จำลอง คือ คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต บ้านพักดังกล่าวนี้อยู่ที่อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย ช่วงนั้นเป็นหน้าแล้งปี ๒๕๔๒ ไฟไหม้หญ้าและไหม้ไผ่ป่า ซึ่งขึ้นอยู่เต็มไปหมดรอบบ้านพัก ไฟลุกโชติช่วงเข้ามาใกล้ ไม่รู้จะหาน้ำที่ไหนมาดับทัน หรือถึงแม้มีน้ำก็ดับไม่ได้เพราะไฟแรง และร้อนมาก คุณหญิงสุรีพันธุ์ ท่านก็ระลึกถึงหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ จึงได้อัญเชิญองค์จำลอง 9 นิ้ว ลงมาอธิษฐานทำน้ำพระพุทธมนต์ โดยเอาน้ำสรงองค์พระ เสร็จแล้วก็เอาน้ำใส่ภาชนะไปพรมรอบบ้านพัก โดยเฉพาะด้านที่ไฟกำลังไหม้ลุกลามเข้ามาใกล้ ปรากฏว่าเมื่อไฟไหม้มาถึงที่พรมน้ำพระพุทธมนต์ไว้ ไฟก็มีเสียง ดังฟู่ๆ แล้วค่อยๆ ดับลง อีกด้านที่กำลังไหม้เข้ามา ก็เปลี่ยนทิศทางไปที่อื่นๆ ทำให้เจ้าของบ้านโล่งอก และรู้สึกอัศจรรย์ในพุทธานุภาพของ หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ เคยมีผู้กราบเรียนถาม หลวงปู่สอ หลายครั้งว่า “ทำไม บางคนถึงอธิษฐานได้ผล บางคนกลับไม่ได้ผล” หลวงปู่สอท่านบอกว่า “ผู้อธิษฐาน แล้วได้ผลประสบผลสำเร็จ เพราะเขาเป็นคนดีมีศีลธรรม”

เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้เขียนได้รวบรวมมาบันทกไว้ไนหนังสือนี้ เป็นเพียงตัวอย่างน้อยนิดที่มีผู้ประสบเหตุการณ์แล้วมาเล่าให้ฟัง ซึ่งถ้าจะรวบรวมทั้งหมดทุกเหตุการณ์ ก็เป็นเรื่องใหญ่และยาก เนื่องจาก เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต่างกรรม ต่างวาระ และสถานที่ บางเรื่องก็ลืมไปแล้ว บางเรื่องก็จำรายละเอียดได้เพียงน้อยนิด เรื่องที่นำมาเล่านี้ รายละเอียดบางอย่างอาจจะคลาดเคลื่อนไปเหมือนกัน ทั้งนี้ เพราะผู้เขียนไม่ได้บันทึกไว้ในสมุด แต่บันทึกไว้ในสมอง ซึ่งอาจลืม วัน เดือน ปีไปบ้าง แต่ถึงอย่างไรก็ขอยืนยันว่าเรื่องราวทั้งหมดเป็นเรื่องจริง ที่เกิดขึ้นกับบุคคลที่ได้รับหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ไปสักการบูชา ซึ่งถ้ามันไม่เกิดขึ้นจริง ๆ ก็ไมทราบว่าเขาจะมาเล่าให้ฟังเพื่อประโยชน์อะไร

ดังนั้น จึงขอให้ท่านผู้อ่าน ได้ใช้วิจารณญาณใคร่ครวญด้วยเหตุผลเอาเอง หากเรื่องราวที่บันทึกไว้นี้บังเกิดประโยชน์ ส่งเสริมให้เรามีจิตใจเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัยมากขึ้น และประพฤติตัวเป็นคนดีมีศีลธรรม แล้วการกราบสักการบูชาพระพุทธรูปหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือที่อาราธนาติดตัวไปด้วย ก็ไม่ใช่เรื่องที่เสียหาย หรือเป็นพิษเป็นภัยต่อตนเองหรือสังคมแต่ประการใด ยิ่งกว่านั้น กลับเป็นการเพิ่มเติมพลังแห่งจิตใจให้มีความเด็ดเดี่ยวมั่นคง ต่อการบำเพ็ญความดีในทางพระพุทธศาสนาตลอดไป

ประวัติหลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์ ตามที่ได้ตีพิมพ์ไว้ในหนังสือ "ประวัติพระพุทธสิริสัตตราช (หลวงพ่อเจ็ดกษัตริย์) ประวัติพระครูภาวนากิจโกศล (หลวงปู่สอ พันธุโล)" ซึ่งรวบรวมและเรียบเรียงโดย พระครูสิทธิวราคม (พระอาจารย์นิคม นิคมวโร) เจ้าคณะอำเภอสหัสขันธ์ (ธ) เจ้าอาวาสวัดเวฬุวัน หรือ วัดแก้งคำ บ้านแก้งกุดเชียงโสม ตำบลหนองบัว อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้จบลงเพียงเท่านี้