คลิกเมาส์ที่ใดก็ได้ในเฟรมนี้เพื่อเรียกเมนูด่วน
บทสวดพระอภิธรรมในงานศพ
โพสท์ในลานธรรมเสวนาโดยคุณ : คนพึ่งเข้าวัด - [8 พ.ย. 44 ]
พระสังคิณี |
|
บาลี |
คำอ่าน |
กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา, |
กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา, |
กตเม ธมฺมา กุสลา, ยสฺมึ สมเย กามาวจรํ |
กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง |
กุสลํ จิตฺตํ อุปฺปนฺนํ โหติ โสมนสฺสสหคตํ |
กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ โสมะนัสสะสะหะคะตัง |
าณสมฺปยุตฺตํ รูปารมฺมณํ วา สทฺทารมฺมณํ วา |
ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา สัททารัมมะณัง วา |
คนฺธารมฺมณํ วา รสารมฺมณํ วา |
คัณธารัมมะณัง วา ระสารัมมะนัง วา |
โผฏฺพฺพารมฺมณํ วา ธมฺมารมฺมณํ วา |
โผฏฐัพพา รัมมะณัง วา ธัมมา รัมมะณัง วา |
ยํ ยํ วา ปนารพฺภ ตสฺมึ สมเย |
ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ ตัสมิง สะมะเย |
ผสฺโส โหติ อวิกฺเขโป โหติ เย วา ปน ตสฺมึ |
ผัสโส โหติ อะวิกเขโป โหติ เย วา ปะนะ ตัสมิง |
สมเย อญฺเปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา |
สะมะเย อัญเญปิ อัตถิ ปฏิจจะสะมุปปันนา |
อรูปิโน ธมฺมา อิเม ธมฺมา กุสลา ฯ |
อรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา. |
|
|
พระสังคิณี (แปล) |
|
ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล |
|
ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล ในสมัยใด |
|
กามาวจรกุศลจิต ที่สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุคด้วยญาณ เกิดขึ้น |
|
ปรารภอารมณ์ใดๆ จะเป็นรุปารมณ์ก็ดี สัททารมณ์ก็ดี คันธารมณ์ก็ดี |
|
รสารมณ์ก็ดี โผฏฐัพพารมณ์ก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี ในสมัยนั้น ผัสสะ |
|
ความฟุ้งซ้านย่อมมี อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใดแม้อื่น |
|
มีอยู่ เป็นธรรมที่ไม่มีรูป อาศัยกันและกันเกิดขึ้น |
|
ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล. |
|
|
|
พระวิภังค์ |
|
บาลี |
คำอ่าน |
ปญฺจกฺขนฺธา รูปกฺขนฺโธ เวทนากฺขนฺโธ สญฺากฺขนฺโธ |
ปัญจักขันธา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ |
สงฺขารกฺขนฺโธ วิญฺาณกฺขนฺโธ ฯ |
สังขารักขันโธ วิญญาณักขันโธ, |
ตตฺถ กตโม รูปกฺขนฺโธ |
ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, |
ยงฺกิญฺจิ รูปํ อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺนํ |
ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะ ตะปัจจุปปันนัง |
อชฺฌตฺตํ วา พหิทฺธา วา โอฬาริกํ วา สุขุมํ วา |
อัชฌัตตัง วา พะหิตธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา |
หีนํ วา ปณีตํ วา ยํ ทูเร สนฺติเก วา |
หีนัง วา ปะณีตัง วา ยัง ทูเร สันติเก วา |
ตเทกชฺฌํ อภิสญฺูหิตฺวา อภิสงฺขิปิตฺวา |
ตะเทกัชฌัง อภิสัญญูหิตวา อภิสังขิปิตวา |
อยํ วุจฺจติ รูปกฺขนฺโธ ฯ |
อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ. |
|
|
พระวิภังค์ (แปล) |
|
|
|
ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ |
|
วิญญาณขันธ์ บรรดาขันธ์ทั้งหมด รูปขันธ์เป็นอย่างไร |
|
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุปัน ภายในก็ตาม |
|
หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม อยู่ไกลก็ตาม |
|
อยู่ใกล้ก็ตาม นั้นกล่าวรวมกันเรียกว่ารูปขันธ์ |
|
|
|
พระธาตุกถา |
|
บาลี |
คำอ่าน |
สงฺคโห อสงฺคโห , |
สังคะโห อะสังคะโห, |
สงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ อสงฺคหิเตน สงฺคหิตํ |
สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง |
สงฺคหิเตน สงฺคหิตํ อสงฺคหิเตน อสงฺคหิตํ |
สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง |
สมฺปโยโค วิปฺปโยโค สมฺปยุตฺเตน วิปฺปยุตฺตํ |
สัมปะโยโค วิปปะโยโค, สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง |
วิปฺปยุตฺเตน สมฺปยุตฺตํ อสงฺคหิตํ ฯ |
วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง อะสังคะหิตัง. |
|
|
พระธาตุกถา (แปล) |
|
|
|
การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ |
|
สิ่งที่ไม่ให้สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้ |
|
สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้ |
|
สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้ |
|
การอยู่ด้วยกัน การพลัดพรากคือ การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ด้วยกัน |
|
การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไปจัดเป็นสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้. |
|
|
|
พระปุคคะละปัญญัตติ |
|
บาลี |
คำอ่าน |
ฉ ปญฺตฺติโย ขนฺธปญฺตฺติ อายตนปญฺตฺติ |
ฉะ ปัญญัตติโย ขันธะปัญญัตติ อายะตะนะปัญญัตติ |
ธาตุปญฺตฺติ สจฺจปญฺตฺติ อินฺทฺริยปญฺตฺติ |
ธาตุปัญญัตติ สัจจะปัญญัตติ อินทริยะปัญญัตติ |
ปุคฺคลปญฺตฺติ ฯ |
ปุคคะละปัญญัตติ, กิตตาวะตา |
กิตฺตาวตา ปุคฺคลานํ ปุคฺคลปญฺตฺติ, |
ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ, |
สมยวิมุตฺโต อสมยวิมุตฺโต |
สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต |
กุปฺปธมฺโม อกุปฺปธมฺโม |
กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม |
ปริหานธมฺโม อปริหานธมฺโม |
ปะริหานะธัมโม อะปะริหานะธัมโม |
เจตนาภพฺโพ อนุรกฺขนาภพฺโพ |
เจตะนาภัพโพ อนุรักขะนาภัพโพ |
ปุถุชฺชโน โคตฺรภู ภยูปรโต อภยูปรโต |
ปุถุชชะโน โคตระภู ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต |
ภพฺพาคมโน อภพฺพาคมโน นิยโต อนิยโต |
ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน นิยะโต อะนิยะโต |
ปฏิปนฺนโก ผเลฏฺิโต อรหา อรหตฺตาย ปฏิปนฺโน ฯ |
ปฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต อะระหา อะระหัตตายะ ปฏิปันโน. |
|
|
พระปุคคะละปัญญัตติ (แปล) |
|
|
|
บัญญัติ ๖ คือ ขันธบัญญัติ อายตนบัญญัติ ธาตุบัญญัติ สัจจบัญญัติ |
|
อินทรีย์บัญญัติ บุคคลบัญญัติ บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร |
|
มีการพ้นจากสิ่งที่ควรรู้ การพ้นจากสิ่งที่ไม่ควรรู้ |
|
ผู้มีธรรมที่กำเริบได้ ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้ |
|
ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้ ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้ |
|
ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา |
|
ผู้ที่เป็นปุถุชน ผู้รู้ตระกูลโคตร ผู้เข้าถึงภัย ผู้เข้าถึงอภัย |
|
ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ควร ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ไม่ควร ผู้เที่ยง |
|
ผู้ไม่เที่ยง ผู้ปฏิบัติ ผู้ตั้งอยู่ในผล ผู้เป็นพระอรหันต์ |
|
ผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหันต์. |
|
|
|
พระกถาวัตถุ |
|
บาลี |
คำอ่าน |
ปุคฺคโล อุปลพฺภติ สจฺฉิกฏฺปรมฏฺเนาติ ฯ |
ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัฏฐะปะระมัตเฐนาติ |
อามนฺตา ฯ |
อามันตา, |
โย สจฺฉิกฏฺโ ปรมฏฺโ ตโต โส |
โย สัจฉิกัฏโฐ ปะระมัฏโฐ ตะโต โส |
ปุคฺคโล อุปลพฺภติ |
ปุคคะโล อุปะลัพภะติ |
สจฺฉิกฏฺปรมฏฺเนาติ ฯ |
สัจฉิกัฏฐะปะระมัฏเฐนาติ, |
น เหวํ วตฺตพฺเพ ฯ |
นะ เหวัง วัตตัพเพ, |
อาชานาหิ นิคฺคหํ หญฺจิ ปุคฺคโล อุปลพฺภติ |
อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ |
สจฺฉิกฏฺปรมฏฺเน เตน วต เร |
สัจฉิกัฏฐะปะระมัฏเฐนะ เตนะ วะตะ เร |
วตฺตพฺเพ โย สจฺฉิกฏฺโ ปรมฏฺโ ตโต โส |
วัตตัพเพ โย สัจฉิกัฏโฐ ปะระมัฏโฐ ตะโต โส |
ปุคฺคโล อุปลพฺภติ |
ปุคคะโล อุปะลัพภะติ |
สจฺฉิกฏฺปรมฏฺเนาติ มิจฺฉา ฯ |
สัจฉิกัฏฐะปะระมัฏเฐนาติ, มิจฉา. |
|
|
พระกถาวัตถุ (แปล) |
|
|
|
(ถาม) ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ ความหมายที่แท้จริงหรือ |
|
(ตอบ) ใช่... ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายที่แท้จริง |
|
(ถาม) ปรมัตถ์ คือ ความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ |
|
คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ |
|
(ตอบ) ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนี้ ท่านจงรู้นิคคะหะเถิด |
|
ว่าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายอันแท้จริงแล้ว |
|
ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ |
|
เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น |
|
คำตอบของท่านที่ว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ |
|
เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์คือ โดยความหมายอันแท้จริงนั้นจึงผิด. |
|
|
|
พระยะมะกะ |
|
บาลี |
คำอ่าน |
เยเกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต กุสลมูลา |
เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูลา, |
เย วา ปน กุสลมูลา สพฺเพ เต ธมฺมา กุสลา ฯ |
เย วา ปะนะ กุสะละมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา, |
เยเกจิ กุสลา ธมฺมา สพฺเพ เต กุสลมูเลน เอกมูลา |
เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, |
เย วา ปน กุสลมูเลน เอกมูลา สพฺเพ เต |
เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา สัพเพ เต |
ธมฺมา กุสลา ฯ |
ธัมมา กุสะลา. |
|
|
พระยะมะกะ (แปล) |
|
|
|
ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล |
|
อีกอย่าง ธรรมเหล่าใดมีกุศลเป็นมูล |
|
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล |
|
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล |
|
อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่เป็นกุศล |
|
ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล. |
|
|
|
พระมหาปัฏฐาน |
|
บาลี |
คำอ่าน |
เหตุปจฺจโย อารมฺมณปจฺจโย อธิปติปจฺจโย |
เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อธิปะติปัจจะโย |
อนนฺตรปจฺจโย สมนนฺตรปจฺจโย |
อนันตะระปัจจะโย สะมะนันตะระปัจจะโย |
สหชาตปจฺจโย อญฺมญฺปจฺจโย |
สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญญะปัจจะโย |
นิสฺสยปจฺจโย อุปนิสฺสยปจฺจโย ปุเรชาตปจฺจโย |
นิสสะยะปัจจะโย อุปะนิสสะยะปัจจะโย ปุเรชาตะปัจจะโย |
ปจฺฉาชาตปจฺจโย อาเสวนปจฺจโย กมฺมปจฺจโย |
ปัจฉาชาตะปัจจะโย อาเสวะนะปัจจะโย กัมมะปัจจะโย |
วิปากปจฺจโย อาหารปจฺจโย อินฺทฺริยปจฺจโย |
วิปากะปัจจะโย อาหาระปัจจะโย อินทริยะปัจจะโย |
ฌานปจฺจโย มคฺคปจฺจโย |
ฌานะปัจจะโย มัคคะปัจจะโย |
สมฺปยุตฺตปจฺจโย วิปฺปยุตฺตปจฺจโย อตฺถิปจฺจโย |
สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย อัตถิปัจจะโย |
นตฺถิปจฺจโย วิคตปจฺจโย อวิคตปจฺจโย ฯ |
นัตถิปัจจะโย วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย. |
พระมหาปัฏฐาน (แปล) |
|
|
|
ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย |
|
ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้ |
|
ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย |
|
ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย |
|
ธรรมที่มีธรรมเกิดก่อนเป็นปัจจัย |
|
ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลังเป็นปัจจัย |
|
ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย |
|
ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย |
|
ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย |
|
ธรรมทีมีฌานเป็นปัจจัย ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย |
|
ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย |
|
ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัย |
|
ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย |
|
ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย. |
จากคุณ : คนพึ่งเข้าวัด - [8 พ.ย. 44 18:25:47]